นางแสงนิล อุ่นตาล ด้านการทอผ้าไทลื้อ

 

ภูมิปัญญาไทย

    ภูมิปัญญา เป็นองค์ความรู้ ทักษะต่าง ๆ และประสบการณ์ของมนุษย์ ผ่านการลองผิดลองถูก เป็นสิ่งที่สั่งสมมาตั้งแต่อดีต โดยผ่านกระบวนการศึกษา สังเกต คิดวิเคราะห์จนตกผลึกเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้เประโยชน์ได้ โดยในแต่ละสังคม แต่ละชุมชนจะมีภูมิปัญญา ซึ่งถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อประชาชนในท้องถิ่นรวมไปถึงประเทศชาติ

วัตถุประสงค์ทั่วไป 
     1. ทราบความหมาย ประเภท ลักษณะ และภูมิปัญญาไทย ของสังคมไทย 
     2. เข้าใจถึงแยกกแยะภูมิปัญญาไทยออกมาเป็นสาขาต่าง ๆ 
     3. เข้าใจคุณสมบัติผู้ทรงภูมิปัญญาไทยได้ 
     4. เข้าใจถึงคุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาไทย 
     5. เข้าใจวิธีการส่งเสริมภูมิปัญญาไทย
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
     1. อธิบาย ความหมาย ประเภท ลักษณะ และภูมิปัญญาไทย ของสังคมไทยได้ 
     2. แยก แยะภูมิปัญญาไทยออกมาเป็นสาขาต่าง ๆได้ 
     3. อธิบายคุณสมบัติผู้ทรงภูมิปัญญาไทยได้ 
     4. อธิบาย คุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาไทยได้ 
     5. อธิบายวิิธีการส่งเสริมภูมิปัญญาไทยได้

เนื้อหาสาระ 
    
 ความรู้ความคิด ความเชื่อที่กลมกลืนกับวิถีชีวิตแบบไทยนั้น ล้วนมาจากบรรพบุรุษไทยที่ท่านได้ถ่ายทอด
มาสู่ลูกหลานจนถึงปัจจุบัน เช่น การสร้างเรือนได้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์
ตลอดจนอาหารไทย สมุนไพร การนวดแผนไทย อักษรไทย การร่ายรำ เพลงกล่ิอมเด็กที้เป็นเอกลักษณ์ ฯลฯ
สิ่งเหล่านีี้เป็นวัฒนธรรมสืบทอดมาจนปัจจุบัน เป็นที่รู้จักของชาวโลก อันเป็นความชาญฉลาดในการสร้างสรรค์งาน
ที่เราเรียกว่าภูมิปัญาไทย

ความคิดเห็น